นโยบายและภาพรวมการประกอบธุรกิจ

บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชัน จํากัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เป็นหนึ่งในผู้นําการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี 2532 เพื่อประกอบธุรกิจการให้บริการโทรคมนาคม การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และการให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายระบบ WiFi โดยบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท และถือหุ้นทั้งหมดโดยบริษัทให้บริการโทรคมนาคมด้วยโครงข่ายเทคโนโลยี 5G, 4G, 3G และ 2G ที่ครอบคลุมซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้บริการเสียง บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศ บริการข้ามแดนอัตโนมัติ (International Roaming) บริการโทรศัพท์ทางไกล (International Direct Dialing หรือ IDD) และบริการเสริมอื่น ๆ ดีแทคให้บริการโทรคมนาคมด้วยเทคโนโลยี 4G โดยใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz และคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ร่วมกับคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz บนความร่วมมือกับบริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) หรือ ทีโอที ในขณะที่ให้บริการโทรคมนาคมเทคโนโลยี 3G โดยใช้คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz ร่วมกับคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz (ซึ่งถูกเปลี่ยนมาจากคลื่นความถี่ย่าน 850 MHz ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564) และให้บริการโทรคมนาคมเทคโนโลยี 2G โดยใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz นอกจากนี้ บริษัทยังได้ให้บริการโทรคมนาคมเทคโนโลยี 5G โดยใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ร่วมกับคลื่นความถี่ย่าน 26 GHz ในพื้นที่สําคัญของประเทศด้วย ทั้งนี้ บริษัทและบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จํากัด ให้บริการภายใต้แบรนด์ ดีแทค ซึ่งมีฐานลูกค้าผู้ใช้บริการ ณ สิ้นปี พ.ศ. 2564 อยู่ประมาณ 19.6 ล้านเลขหมายทั่วประเทศไทย โดยเป็นลูกค้าในระบบรายเดือนประมาณ 6.2 ล้านเลขหมาย และลูกค้าในระบบเติมเงินประมาณ 13.4 ล้านเลขหมาย

ในปี พ.ศ. 2561 บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จํากัด หรือ ดีแทค ไตรเน็ต ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท และบริษัท เทเลแอสเสท จํากัด ซึ่งเป็น บริษัทที่ดีแทค ไตรเน็ต ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ได้เข้าทําข้อตกลงกับ ทีโอที ในการให้บริการไร้สายแบบโรมมิ่งบนคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz เพื่อให้บริการ 4G ควบคู่ไปกับการให้บริการด้วยคลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz โดยข้อตกลงความร่วมมือกับ ทีโอที จะสิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2568 และดีแทค ไตรเน็ต ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz จาก กสทช. เมื่อปี พ.ศ. 2555 ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวจะหมดอายุในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2570 นอกจากนี้ ดีแทค ไตรเน็ต ได้เข้าร่วมและเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ซึ่งจัดขึ้นโดย กสทช. และได้รับใบอนุญาต ให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2561 ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวจะหมดอายุในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2576

ในเดือนมิถุนายน 2562 ดีแทค ไตรเน็ต ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ซึ่งจัดสรรโดย กสทช. โดยต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ดีแทค ไตรเน็ต ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว ซึ่งจะหมดอายุในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2578 นอกจากนี้ ในเดือน กุมภาพันธ์ 2563 ดีแทค ไตรเน็ต ยังได้เข้าร่วมและเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งจัดขึ้นโดย กสทช. และได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ ดังกล่าวในเดือนเดียวกัน ซึงใบอนุญาตดังกล่าวจะหมดอายุในเดือนกุมภาพันธ์ 2578

นอกจากนี้ บริษัทได้ดําเนินธุรกิจจัดจําหน่ายอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งการจําหน่ายอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ พร้อมกับบริการโทรคมนาคมของบริษัทช่วยให้ลูกค้าได้รับบริการที่ครบวงจรและได้รับโปรโมชั่นที่มีความคุ้มค่าและหลากหลาย เช่น การได้รับส่วนลดค่าอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ เมื่อลูกค้าสมัครใช้บริการรายเดือนของดีแทค เป็นต้น ทั้งนี้การนําเสนอโปรโมชันร่วมกับอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ มีส่วนช่วยบริษัทในการเพิ่มจํานวนผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน รวมทั้งสร้างฐานลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเดิมอีกด้วย โดย ณ สิ้นปี พ.ศ. 2564 บริษัทมีฐานลูกค้าที่ใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน อยู่ที่ประมาณร้อยละ 88.8 ของฐานลูกค้าทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดิมซึงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 87.5 เมื่อปี 2563 ในขณะที่รายได้จากการจําหน่ายอุปกรณ์ โทรศัพท์และชุดเลขหมายมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10.9 ของรายได้รวมของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทยังตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่องด้วยการให้บริการนอกเหนือจากการเชื่อมต่อหลัก ตลอดจนการเพิ่มการให้บริการเสริมต่าง ๆ (Adjacent services) ส่งผลให้มีการเติบโตของรายได้จากบริการเสริมต่าง ๆ (Adjacent services) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากปีก่อน

บริษัทมีเป้าหมายที่จะเพิ่มเติมและปรับปรุงการนําเสนอสินค้าและบริการผ่านช่องทางการให้บริการแบบดิจิทัลมากขึ้น และด้วยการที่บริษัทได้ปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าในการใช้ชีวิต ในแบบดิจิทัลจะช่วยสนับสนุนประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลขณะเดียวกันก็เป็นการอํานวยความสะดวกและช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับบริษัทได้มากยิ่งขึ้น

จุดมุ่งหมายและกลยุทธ์ของบริษัท

จุดมุ่งหมายของเรา

มุ่งสร้างสังคมไทยให้แข็งแกร่ง – เชื่อมต่อทุกคนกับทุกสิ่งที่สําคัญที่สุด

กลยุทธ์ของเรา
  • เครือข่ายที่มุ่งเน้นคุณค่า (Value-focused Network)

    เรามุ่งมั่นที่จะเติบโตและสร้างรายได้โดยการให้บริการเสียงและมอบประสบการณ์การใช้งานข้อมูลความเร็วสูงแก่ตลาดวงกว้าง ผ่านการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพสูง โดยบริษัทได้มีการนําเสนอพันธสัญญาใหม่ของแบรนด์ (Brand Promises) ในการดแลให้ทุกคน "ได้ใช้ชีวิตที่ใช่ในแบบที่ชอบ" ซึ่งให้ความสําคัญกับประโยชน์ของแบรนด์ (Brand Benefits) ซึ่งประกอบด้วย "เพื่อคุณเฉพาะคุณ (Made for you)" "ปรับเปลี่ยนให้ตอบโจทย์ (Incredible Flexibility)" และ "รู้สึกดีและประทับใจ (Delightful Experience)" โดยส่งมอบประโยชน์ของแบรนด์ดังกล่าวผ่านทางการให้บริการอย่างไร้รอยต่อ ด้วยการผลักดันช่องทางการขายและจัดจําหน่ายทั้งหมด (Omni Channel) และการพัฒนาระบบบริหารจัดการทางดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้น โดยบริษัทยังคงแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างลูกค้าและสังคมกับทุกสิ่งที่สําคัญที่สุด นั่นก็คือ ผ่านระบบการเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้และบริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าในการใช้ชีวิตประจําวัน โดยตลอด ทั้งปี 2564 บริษัทได้ให้ความสําคัญกับการลงทุนด้าน เครือข่ายอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น และผลที่ได้คือการเพิ่มขึ้นของคะแนนความพึงพอใจของลูกค้าสุทธิ และการเพิ่มขึ้นของการใช้งานข้อมูล ซึ่งการขยายความครอบคลุมของเครือข่ายไปยังชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศนั้นยังช่วยให้คนในท้องที่ ต่าง ๆ สามารถรับรู้และสัมผัสประสบการณ์การใช้งานของเครือข่ายของดีแทคที่ดีขึ้นได้ นอกจากนี้ เรายังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาประสบการณ์ออนไลน์และการเชื่อมต่อและปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลและการเสนอเนื้อหาเฉพาะบุคคลที่ตอบโจทย์ลูกค้าผ่านการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ทั้งหมดนี้ จะช่วยให้บริษัทสามารถรักษาฐานลูกค้าและดึงดูดลูกค้าในระบบเติมเงินและขยายการเติบโตของฐานลูกค้าระบบรายเดือนและลูกค้ากลุ่มธุรกิจได้

  • ท้าทายขีดจํากัดยืนหยัดข้างลูกค้า (Customer-Centric Challenger)

    บริษัทมีการสํารวจความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อนําเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์และเป็นที่ต้องการ โดยการเป็นผู้ให้บริการที่กล้าท้าทายขีดจํากัดด้วยมุมมองที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ลูกค้าของเรามีความพร้อมและอยู่ในสถานะภาพที่ดีที่สุด ซึ่งในการเป็น 'ชาเลนเจอร์' ผู้รับฟังเสียงลูกค้านี้ บริษัทได้ตั้งเป้าในการนําเสนอบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ "ได้ใช้ชีวิตที่ใช่ในแบบที่ชอบ" ผ่านทางประโยชน์ของแบรนด์ 3 ข้อ ดังนี้

    • "เพื่อคุณ เฉพาะคุณ (Made for you)" โดยการเรียนรู้และทําความเข้าใจกับความต้องการของลูกค้าที่มีความซับซ้อน และสามารถนําเสนอบริการที่ช่วยแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์แบบเฉพาะบุคคล เพือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ลูกค้า
    • "ปรับเปลี่ยนให้ตอบโจทย์ (Incredible Flexibility)" โดยการเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ลูกค้า ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ บริการ และช่องทางที่สอดคล้องกับความต้องการ
    • "รู้สึกดี ประทับใจ (Delightful Experience)" โดยการให้ประสบการณ์การใช้งานที่เรียบง่ายและเป็นกันเอง ผ่านทางเครือข่ายที่เชื่อถือได้ ตลอดจนการเข้าถึงบริการลูกค้าที่สะดวกและใช้งานง่าย

    นอกจากนี้ บริษัทยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการนําระบบดิจิทัลมาปรับใช้การลดความซับซ้อนของกระบวนการทํางานและการนําระบบอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการทํางาน ทั้งในส่วนของการขาย การให้บริการแก่ลูกค้า และการดําเนินงานของพนักงานใน ส่วนปฏิบัติการ เพื่อให้มีความรวดเร็วในการนําเสนอผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ตลาด และสามารถเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าและร้านค้ารายย่อย อีกทั้งบริษัทยังมีการกําหนดเป้าหมายในการสร้างองค์กร ยุคใหม่ผ่านทางการนําระบบอัตโนมัติมาใช้และการลดความซับซ้อนของกระบวนการทํางาน ทั้งในส่วนของการเพิ่มความคล่องตัวของงานในส่วนสนับสนุน การลดความซับซ้อนของช่องทางการจัดจําหน่าย และการจัดโครงสร้างใหม่ในระดับภูมิภาค ซึ่งการสร้างองค์กรยุคใหม่ที่มีการดําเนินการอย่างแข็งแกร่ง จะมีส่วนช่วยในการเตรียมความพร้อมสู่อนาคต โดยบริษัทมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบนิเวศของบริการที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าซึ่งรวมถึงการให้บริการหลาย ๆ บริการผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ อนึ่ง บริษัทยังได้ให้บริการ Over-the-top (OTT) โดยมีการเรียกเก็บชําระค่าใช้บริการพร้อมไปกับการเรียกเก็บชําระค่าใช้บริการโทรคมนาคม ให้บริการใจดี ทั้งในส่วนของบริการใจดีมีวงเงินให้ยืม บริการใจดีให้ยืมเน็ต และบริการใจดีให้ยืม ตลอดจนบริการประกันที่มีความหลากหลาย เช่น บริการดูแลเครื่องและ ส่งซ่อมโทรศัพท์ ประกันไวรัสโคโรนา ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล นอกจากนี้บริษัทยังเริ่มให้บริการ Gaming Nation เพื่อการก้าวไปอีกขั้นกับการนําเสนอข้อเสนอต่าง ๆ และสิทธิพิเศษในการเล่นเกมส์ซึ่งเป็นตลาดที่ ใหญ่และมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเป็นการร่วมมือกับ Free Fire และ Talon Esports ซึ่งผลจากความพยายามในการนําเสนอบริการต่าง ๆ เหล่านี้ ทําให้บริษัทสามารถเพิ่มการเติบโตของรายได้ และจํานวนผู้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว ในส่วนของลูกค้าองค์กร บริษัทยังได้เพิ่มการเติบโตในส่วนของการให้บริการลูกค้าองค์กรผ่านทางการนําเสนอ โซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการและช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้า และส่งมอบบริการผ่านทางโมเดลธุรกิจแบบดิจิทัลที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ผ่านช่องทางบริการ ตนเองและช่องทางการให้บริการแบบอิเล็กทรอนิกส์

  • การเพิมประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจ (Effciency)

    การพัฒนาอย่างต่อเนื่องที่ผ่านมาของบริษัท ประกอบไปด้วย การลดความซับซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ในขณะที่บริษัทมุ่งเน้นมอบประสบการณ์การใช้บริการที่ราบรื่นไร้กังวลแก่ลูกค้า บริษัทยังดําเนินงานเพื่อให้ความมั่นใจว่าธุรกิจมีการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว ทั้งนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจครอบคลุม 3 ด้านใหญ่ ๆ ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการด้านเครือข่ายและไอที การปรับเปลี่ยนในเชิงโครงสร้างทางด้านเครือข่าย และการลดต้นทุนโดยการปรับเปลียนมาใช้ระบบดิจิทัล ่ โดยบริษัทได้รับผลดีจากการใช้การจัดซื้อแบบรวมศูนย์ซึ่งทําให้บริการสามารถลดต้นทุนได้เป็นจํานวน มากผ่านการเจรจาต่อรองสัญญาทั้งในส่วนของราคาและเนื้อหาความครอบคลุมของสัญญา อนึ่ง ในส่วนของการปรับเปลี่ยนในเชิงโครงสร้างทางด้านเครือข่ายได้รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายประเภทค่าเช่า และการลดการใช้งานอุปกรณ์ ซึ้งช่วยในการประหยัดต้นทุน ทั้งนี้ ดีแทคได้บริหารจัดการต้นทุนทางด้านเครือข่ายอย่างต่อเนื่องผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการติดตั้งเครือข่ายอย่างเหมาะสมและการเจรจาเงื่อนไขทางการค้า โดยในการมอบบริการแก่ลูกค้าวงกว้างทั่วประเทศ บริษัทได้สร้างองค์กรที่มีรูปแบบการดําเนินงานแบบลดลําดับขั้น (lean) เพื่อที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งและคงความยืดหยุ่นในการปรับตัว และก้าวไปข้างหน้าท่ามกลางสภาพการบริหารธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการเป็นดังนี้